fbpx

แผลเป็นคีลอยด์ (Keloid) คืออะไร? รักษาอย่างไรได้บ้าง?

เมื่อพูดถึงคีลอยด์ หลายคนคงเคยนึกถึงรอยแผลเป็นนูน ๆ แดง ๆ ที่ดูไม่ค่อยสวยงามเท่าไหร่นัก ทำให้คนที่เจอปัญหาเป็นแผลเป็นคีลอยด์ต้องรู้สึกไม่มั่นใจ ต้องใส่เสื้อผ้าปกปิดรอบแผลเป็นไว้ แต่คีลอยด์นั้น นอกจากเรื่องความสวยงามแล้ว บางครั้งยังสร้างความเจ็บปวดให้ผู้ที่เป็นอีกด้วยค่ะ วันนี้เราจึงรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแผลเป็นคีลอยด์มาฝากทุกคนกัน ว่าคีลอยด์คืออะไร มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นคีลอยด์ เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงและรักษาได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยค่ะ

คีลอยด์ คืออะไร  ?

คีลอยด์ (Keloid) เป็นประเภทของแผลผิดปกติบนผิวหนัง มักเกิดขึ้นหลังจากบาดแผลหรือการบาดเจ็บ และมีลักษณะที่แตกต่างจากแผลรอยทั่ว ๆ ที่เรามักพบเห็นค่ะ คีลอยด์มีลักษณะเป็นแผลที่นูนขึ้นจากผิวหนัง มักมีสีแดงหรือเข้มขึ้นจากสีผิวปกติ ทำให้ผู้ที่เป็นคีลอยด์มักไม่มั่นใจในร่างกายของตนเอง คีลอยด์อาจมีความตึงตัว ทำให้รู้สึกคันหรือปวดได้บ้าง และมักขยายขนาดได้เรื่อย ๆ โดยที่ไม่ยุบลงเอง แต่คีลอยด์ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพกายและสามารถรักษาได้ค่ะ

สาเหตุของการเกิดคีลอยด์

สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดคีลอยด์ยังไม่เป็นที่ทราบอย่างแน่ชัดค่ะ แต่ทั้งนี้ คาดว่าเกิดจากการตอบสนองที่มากเกินกว่าปกติในการซ่อมแซมของผิวหนัง และมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดคีลอยด์ ดังนี้ค่ะ

1.พันธุกรรม : การมีประวัติคนในครอบครัวที่เคยเป็นคีลอยด์อาจมีผลต่อความเสี่ยงในการเกิดคีลอยด์ เนื่องจากมีความสัมพันธ์ของพันธุกรรมในการพัฒนาแผลผิดปกติบนผิวหนัง

2.อายุ: คนที่เข้าสู่วัยทองมีโอกาสเกิดคีลอยด์น้อยลง

3.การบาดเจ็บหรือผ่าตัด : บาดเจบหรือกระบวนการผ่าตัดบนผิวหนังอาจทำให้เกิดคีลอยด์

4.ฮอร์โมน : การเปลี่ยนแปลงในระดับฮอร์โมนในร่างกาย เช่น การตั้งครรภ์ โดยหญิงตั้งครรภ์พบการเกิดคีลอยด์มากกว่าปกติ

วิธีการรักษาคีลอยด์ มีอะไรบ้าง ?

1. การฉีดยาสเตียรอยด์ (Intralesional Corticosteroid Injections)

   การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าไปในบริเวณแผลคีลอยด์เพื่อลดคอลลาเจนที่ก่อคีลอยด์ ทำให้แผลยุบลง ลดความอักเสบ และลดอาการเจ็บและคันได้

2. การผ่าตัด (Surgical Excision)

การผ่าตัดแผลคีลอยด์เพื่อลดขนาดและนูน โดยเฉพาะในกรณีคีลอยด์ที่ต่อออกมา การผ่าตัดมักทำร่วมกับวิธีการรักษาอื่น ๆ เช่น การใช้เลเซอร์หรือการใส่ผ้ายืดกดทับแผล

3. การรักษาด้วยเลเซอร์ (Laser Therapy)

การใช้เลเซอร์ที่มีความยาวคลื่นเซอร์ตนั้น เพื่อกระตุ้นการเรียงตัวของคอลลาเจนใต้ผิวหนัง ทำให้แผลคีลอยด์ยุบลง การรักษาด้วยเลเซอร์ต้องทำหลายครั้งเพื่อเห็นผลลัพธ์ที่ดี

4. การใช้ผ้ายืดที่ตัดเพื่อกดทับบาดแผล (Pressure Garment Therapy)

การใส่ผ้ายืดที่รัดแผลคีลอยด์ให้แนบแน่น ทำเพื่อป้องกันการเกิดคีลอยด์ใหม่หรือช่วยลดความนูนของแผล

5. การใช้แผ่นซิลิโคนแปะรอยแผล (Silicone Gel Sheets)

การใช้แผ่นซิลิโคนแปะลงบนแผลคีลอยด์เพื่อช่วยลดความนูนของแผลคีลอยด์ ลดการอักเสบและอาการคัน เป็นการรักษาที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง

วิธีหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดคีลอยด์

1. หลีกเลี่ยงการลูบหรือจับบ่อย ๆ บริเวณที่เกิดแผล โดยเฉพาะถ้ามีแผลที่เหมือนจะเป็นแผลคีลอยด์

2. อย่าแกะสะเกดแผลออกก่อนเวลา เพราะการแกะสะเกดอาจส่งผลต่อการซ่อมแซมผิวหนังและทำให้แผลใช้เวลาหายช้าขึ้น

3. พยายามดูแลแผลให้ไม่เกิดการอักเสบมาก การอักเสบมากที่แผลอาจทำให้น้ำเหลืองไหลซึมหรือแผลติดเชื้อ ซึ่งอาจทำให้แผลหายช้าและเพิ่มโอกาสให้เกิดคีลอยด์

4. เมื่อแผลแห้งแล้ว ควรใช้ยาทารักษารอยแผลที่มีส่วนประกอบของ Silicone gel หรือสารสกัดจากหัวหอม (Allium cepa) เพื่อช่วยให้แผลชุ่มชื้นและลดอาการอักเสบ. การดูแลแผลด้วยยาทารักษารอยแผลที่เหมาะสมช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดคีลอยด์

เมื่อเราพบว่าตัวเองมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นคีลอยด์ หรือเป็นแล้วแต่ยังไม่ได้รักษา แต่อาการเจ็บหรือนูนไม่ลดลง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธีค่ะ

Kelosil Silicone Scar Gel

เป็นซิลิโคนเจลใสสำหรับแผลเป็นคีลอยด์ ประกอบด้วย CPX 80% โดยเจลจะเคลือบบริเวณจุดแผลเป็น เพื่อลดการก่อตัวของผิวส่วนเกิน ช่วยลดรอยแผลเป็นให้จางลง โดยสามารถใช้ได้ทั้งแผลเป็นเก่าและใหม่

ช็อปเลยได้ที่ Shop LAB Society ทุกสาขา หรือช็อปผ่านเว็บ

📍 Website : www.lab-society.com

📍 Shopee : https://shope.ee/4plQszGXf1

หน้าร้าน LAB Society ทุกสาขา

📍ซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์

📍ฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต

📍เมเจอร์ ปิ่นเกล้า